Web Portal

Web Portal คือ ช่องทางช่วยในการเข้าถึง Services ต่าง ๆ ใน Platform เพื่อให้สามารถใช้งาน Platform ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งาน Web Portal สามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://portal.nexiiot.io เมื่อ Login เรียบร้อยแล้วจะปรกฏหน้าจอดังรูปต่อไปนี้

_images/portal_firstpage.png

User

มุมบนสุดขวามือที่แสดงชื่อผู้ใช้ เมื่อคลิกจะปรากฏเนมูต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ดังรูป

_images/portal_usermenu.png

เมนู "Profile"

สำหรับให้ผู้ใช้ดูข้อมูลส่วนตัว และสามารถแก้ไขข้อมูลบางส่วนได้ รวมถึงการเปลี่ยนรหัสผ่านเข้าใช้งานระบบ หน้าจอเป็นดังนี้

_images/portal_profile.png

เมนู "Token"

สำหรับแสดงข้อมูล User Token ของตนเอง ซึ่งจะนำไปใช้กรณีใช้งาน API หรือ Service อื่นๆ ที่ต้องแสดงสิทธิ์ก่อนใช้งาน หน้าจอเป็นดังนี้

_images/portal_usertoken.png

เมนู "Billing"

สำหรับแสดงข้อมูลประเภทการคิดค่าบริการและปริมาณการใช้งาน Service ต่างๆ ใน Platform หน้าจอเป็นดังนี้

_images/portal_billing.png

จากรูปด้านบน โควต้าการใช้งานจะถูกแยกเป็น 2 ประเภท คือ

แบบจำกัดจำนวนการใช้งาน (ในกรอบสีน้ำเงิน) ประกอบด้วย

Project

จำกัดจำนวน Project ที่สามารถสร้างได้ทั้งหมดในแต่ละ Account

Device

จำกัดจำนวน Project ที่สามารถสร้างได้ทั้งหมดในแต่ละ Account

Dashboard

จำกัดจำนวน Dashboard (ยังไม่มีการบริการในส่วนนี้)

แบบใช้แล้วหมดไป แต่จะมีการรีเซ็ตโควต้าให้ทุกเดือน (กรอบสีเขียว)

Real-time messages

คือ จำนวน Publish/Subscribe Message ที่สามารถรับส่งได้ หน่วยนับเป็น message ถ้า Service นี้หมด การดำเนินการผ่าน MQTT Protocol ทั้งหมดจะไม่ทำงาน รายละเอียดการนับจำนวนการใช้งาน ดูเพิ่มเติมได้ที่ Real Time Message

Time-series data storage

คือ จำนวนข้อมูลที่สามารถเก็บได้ หน่วยนับเป็น point-month ถ้า Service นี้หมด จะไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพื่อดูประวัติย้อนหลังได้ รายละเอียดการนับจำนวนการใช้งาน ดูเพิ่มเติมได้ที่ Time Series Data Store

Shadow read/write

คือ จำนวนการอ่าน/เขียน Shadow หน่วยนับเป็น operation ถ้า Service นี้หมด จะไม่สามารถ Read/Write Shadow นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึง Service อื่นที่ดำเนินการผ่าน Shadow ด้วย เช่น การบันทึกข้อมูลลง Time-series data storage ผ่านการ Write Shadow จะไม่สามารถบันทึกได้ เป็นต้น รายละเอียดการนับจำนวนการใช้งาน ดูเพิ่มเติมได้ที่ Shadow Read/Write

API call

คือ จำนวนการใช้งาน REST API หน่วยนับเป็น operation ถ้า Service นี้หมด การดำเนินการผ่าน REST API ทั้งหมดจะไม่ทำงาน รายละเอียดการนับจำนวนการใช้งาน ดูเพิ่มเติมได้ที่ API Call

Trigger and action

คือ จำนวนการใช้งาน Trigger และ Action ที่เกิดขึ้น หน่วยนับเป็น operation ถ้า Service นี้หมด Notifiication ต่าง ๆ ตั้งค่าไว้จะไม่ทำงาน รายละเอียดการนับจำนวนการใช้งาน ดูเพิ่มเติมได้ที่ Trigger & Action

Datasources

คือ จำนวนขนาดข้อมูลสะสม (หน่วยเป็น Byte) ที่เกิดจากการ Download ข้อมูลจาก Time-series data storage (Data Transfer) ถ้า Service นี้หมด จะส่งผลให้ไม่สามารถดึงข้อมูลจาก Time-series data storage ได้ Datasource

เมนู "Log"

สำหรับดูข้อมูล Log การทำงานต่าง ๆ ของระบบ

เมนู "Help"

สำหรับลิงค์ไปยังคู่มือการใช้งาน (https://docs.nexiiot.io)

เมนู "Logout"

สำหรับ Logout จากระบบ


Project

เป็นข้อมูลแรกที่จะพบหลัง Login เข้ามา โดยระบบจะแสดงรายการ Project ทั้งหมดที่ผู้ใช้มีสิทธิ์เข้าถึง (ถ้ามี) ดังรูป

_images/portal_project_card.png

ในแต่ละ Project จะมีการสรุปรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยว Project นั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่

_images/project_summary.png
  1. ชื่อ Project (Project Name) สามารถกำหนดได้เอง

  2. รหัส Project (Project ID) ระบบจะสร้างให้อัตโนมั้ต ใช้อ้างอิงกรณีใช้งานบาง Service เช่น API

  3. คำอธิบาย (Project Description)

  4. Tag ใช้เป็นคำค้น (Key Word) ช่วยในการค้นหาข้อมูล

  5. จำนวน Device ใน Project จะอยู่ในรูปแบบ a/b (a คือ จำนวน Device ที่ online, b คือ จำนวน Device ทั้งหมด)

  6. จำนวน Group ใน Project

รูปแบบการแสดงรายการ Project สามารถได้ 2 แบบ คือ Card (แบบที่แสดงอยู่ปัจจุบัน) หรือ Table โดยเลือกเปลี่ยนรูปแบบได้ที่ icon มุมบนขวามือ ถ้าแสดงในรูปแบบ Table จะมีลักษณะดังรูปด้านล่าง

_images/portal_project_table.png

สำหรับการสร้าง Project ใหม่ ให้คลิกที่ปุ่ม "Create" มุนบนขวาก็จะปรากฏฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล Project ดังรูปด้านล่าง

_images/portal_project_create.png

จากรูปด้านบนข้อมูล Project ที่สามารถระบุได้มีดังนี้

Project Name

ชื่อ Project ไม่อนุญาตให้มีช่องว่าง (White Space) อยู่ในชื่อ

Project Description

คำอธิบาย Project

Tag

คำค้น (Key Word) ระบุได่มากกว่า 1 ค่า

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม "SAVE" ระบบจะพาเข้าไปภายใน Project ใหม่ที่พึ่งสร้างเพื่อจัดการส่วนต่างๆ ดังรูป

_images/portal_project_overview.png

จากรูปด้านบน จะเป็นการแสดงภาพรวมของ Project ประกอบด้วย Detail แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Project, Device แสดงจำนวน Device ภายใน Project และจำนวนแยกตามสถานะการเชื่อมต่อ Platform, Group แสดงจำนวo Group ภายใน Project

แทบด้านซ้ายมือบนสุดสามารถคลิกสร้าง Project ใหม่ได้ โดยคลิกที่เมนู "Add Project" ซึ่งจะเหมือนการคลิกที่ปุ่ม "Create" ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเปลี่ยน Project ที่ต้องการจัดการได้ด้วยการคลิกเลือกเปลี่ยนที่ Dropdown ส่วน ดังรูป

_images/portal_project_topmenu.png

ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลทั่วไปของ Project ให้คลิกที่เมมู "Setting" ในแถบซ้ายมือ ก็จะปรากฏหน้าสำหรับแก้ไขข้อมูล Project ดังรูป

_images/portal_project_edit.png

จากรูปด้านบน นอกจากแก้ไขข้อมูลทั่วไปของ Project ยังทำการลบ Project ได้จากที่นี่ด้วย โดยคิลกที่ปุ่ม "Delete" แต่จะลบ Project ได้ต้องลบข้อมูล Device, Group และ Dashboard ภายใน Project ออกให้หมดเสียก่อน


Device

ข้อมูล Device ทุก Device จะต้องอยู่ภายใต้ Project การจัดการข้อมูล Device ให้คลิกที่เมนู "Device" ในแทบซ้ายมือ ก็จะปรากฏหน้าจอแสดงรายการ Device ทั้งหมดที่เคยสร้างไว้ภายใน Project นั้นๆ (ถ้ามี) ดังรูป

_images/portal_device_list.png

จากรูปด้านบนการสร้าง Device ใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม "Create" มุมบนขวามือ เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลดังรูป

_images/portal_device_create.png

จากรูปด้านบนข้อมูล Device ที่สามารถระบุได้มีดังนี้

Device Name

ชื่อ Device ไม่อนุญาตให้มีช่องว่าง (White Space) อยู่ในชื่อ

Device Description

คำอธิบาย Device

Group

เลือก Group ที่จะจัดให้กับ Device ("Leave group" ด้านหลังใช้สำหรับเคลียร์ค่าใน Dropdown หรือจะแลกไปที่ "None" ใน Dropdown ก็ได้ กรณียังไม่ต้องการกำหนด Group ให้ Device)

Tag

คำค้น (Key Word) ระบุได่มากกว่า 1 ค่า

Label

ชุดข้อมูล Metadata ที่ต้องการกำหนดให้ Device สามารถกำหนดได้สูงสุด 4 ชุด (A, B, C, D) โดยแต่ละชุดข้อมูลจะกำหนดในรูปแบบ JSON

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม "SAVE" ก็จะปรากฏรายการ Device ใหม่ที่พึ่งสร้างขึ้นมาเป็นรายการบนสุด ดังรูป

_images/portal_device_new.png

จากรูปด้านบนจะเห็นว่ายังมีข้อมูลบางอย่างของ Device ซ่อนอยู่ (Tag, Label) ให้คลิกที่ปุ่ม ">" หน้า Device แต่ละรายการที่ต้องการดูข้อมูลที่ถูกซ่อนอยู่ ดังรูป

_images/portal_device_tag.png

เมื่อนำ Cursor ไปชี้ที่ Device รายการใดก็ตามจะปรากฏ Icon สำหรับให้คลิกเพื่อแก้ไขข้อมูล Device และสำหรับลบ Device นั้นๆ ดังรูป

_images/portal_device_edit.png

ปุ่ม "Manage Device" ที่อยู่มุมบนขวามือ จะใช้สำหรับจัดการเรื่อง Group ให้ Device โดยจะสามารถจัด Devcie ได้หลายๆ Device เข้า Group ใด Group หนึ่งในครั้งเดียว ไม่ต้องทำทีละ Device เหมือนหน้าจอแก้ไข การใช้งานให้เริ่มจากคลิกเลือกที่ Checkbox หน้ารายการ Device ที่ต้องการจัดเข้าอยู่ใน Group เดียวกัน อย่างน้อย 1 Device แล้วปุ่ม "Manage Device" จะ Active ขึ้นมาให้สามารถคลิกได้ ดังรูป

_images/portal_device_manage.png

เมื่อปุ่ม "Manage Device" Active ขึ้นมาแล้วให้คลิกเพื่อเข้าไปเลือก Group ที่ต้องการจะจัด Device ที่เลือกเข้าไป โดยจะปรากฏรายการ Group ที่สร้างไว้ (ถ้ายังยังไม่เคยสร้าง Group จะไม่ปรากฏรายการใดๆ ต้องไปทำการสร้าง Group ก่อน ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อถัดไป) ดังรูป

_images/portal_device_grouplist.png

จากนั้นคลิกเลือกที่รายการ Group ที่ต้องการ ซึ่ง Group ที่ถูกเลือกจะขึ้นแถบสีฟ้าอ่อน และปุ่ม "MOVE" จะ Active ขึ้นมาให้คลิกได้ ดังรูป

_images/portal_device_groupselect.png

สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม "MOVE" ในรูปด้านบน Device ทั้ง 3 รายการที่เลือกไว้จะถูกจัดเข้าไปอยู่ใน Group ที่ชื่อว่า "livingroom" ดังรูป

_images/portal_device_move.png

นอกจากนี้ ยังมีตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล Device กรณีมีรายการ Device จำนวนมาก ได้แก่ ช่องค้นหา โดยใส่คำค้นที่ต้องการลงไปแล้วคลิกที่ Icon แว่นขยายที่ด้านหลังหรือกด "Enter" ที่แป้นพิมพ์ หรือจะใช้การค้นหาจากตัวกรองที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้แล้ว โดยการคลิกที่ Icon ตัวกรอง ที่อยู่ถัดจากช่องค้นหา ก็จะปรากฏตัวกรองที่ผู้ใช้สามารถเลือกเพื่อใช้ในการกรองข้อมูล ประกอบด้วย

  1. Status คือ กรองจากสถานะการเชื่อมต่อ Platform ของ Device (online เชื่อมต่ออยู่, offline ไม่ได้เชื่อมต่อ)

  2. Date คือ กรองจากช่วงวันที่สร้าง Device

  3. Group คือ กรองจาก Group ที่ Device นั้นๆ อยู่

และตารางแสดงรายการ Devcie ที่หัวคอลัมน์สามารถคลิกเพื่อเรียงลำดับข้อมูลตามประเภทข้อมูลได้อีกด้วย ดังรูป

_images/portal_device_search.png

ถ้าคลิกที่แต่ละรายการ Device จะเป็นการเข้าไปดูรายละเอียดและตั้งค่าข้อมูลต่างๆ ของ Device เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป

_images/portal_device_config.png

จากรูปด้านบน เมื่อคลิกที่รายการ Device แล้ว ก็จะปรากฏข้อมูลต่างๆ และส่วนสำหรับตั้งค่า Device โดยมุมบนสุดด้านซ้ายมือจะแสดงชื่อ Device และวันที่สร้าง Device ส่วนมุมบนขวามือจะมีปุ่ม "Edit" เมื่อคลิกก็จะปรากฏฟอร์มสำหรับให้แก้ไขข้อมูล Device เหมือนการคลิกที่ Icon หลังรายการ Device ที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ ถัดลงมาในกรอบ Detail ก็จะแสดงข้อมูลคำอธิบาย Hashtag และ Tags ของ Device กรอบถัดมา คือ Key ก็จะแสดงรายละเอียดของค่าต่างๆ ที่จะต้องนำไปใช้ในการเชื่อมต่อ Platform รวมถึงแสดงสถานะการเชื่อมต่อให้ทราบด้วย ในกรณีที่สถานะการเชื่อมต่อไม่ถูกต้องให้กดปุ่ม "Resync Status" ที่อยู่ถัดไปจากสถานะเพื่อทำการอัพเดทให้ถูกต้อง

สุดท้ายเกี่ยวกับ Device จะเป็นการตั้งค่า Device หรือดูข้อมูลที่เกิดจาก Device มีทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ Shadow Schema Trigger Feed ซึ่งดูรายละเอียดวิธีการตั้งค่าดูได้จาก Device Configuration และในส่วนของ Shadow และ Schema เลือกแสดงผลได้ 2 แบบ คือ Tree (ค่า Default) และ Code กรณีที่ต้องการคัดลอก Code มาวางแนะนำให้เลือกการแสดงผลเป็นแบบ Code ถ้ามีการแก้ไข Configurations ปุ่ม "SAVE" ที่มุมบนขวามือจะ Active ให้สามารถกดบันทึกสิ่งที่แก้ไขไปได้ หรือถ้าไม่ต้องการบันทึกสิ่งที่แก้ไขไปให้คลิกปุ่ม "Cancel"


Group

ใช้สำหรับกำหนดขอบเขตการสื่อสารระหว่าง Device แต่ละตัว โดย Device ที่จะสามารถสื่อสารกันได้ต้องถูกจัดให้อยู่ภายใต้ Group เดียวกันเท่านั้น การจัดการข้อมูล Group ให้คลิกที่เมนู "Group" ในแทบซ้ายมือ ก็จะปรากฏหน้าจอแสดงรายการ Group ทั้งหมดที่เคยสร้างไว้ภายใน Project นั้นๆ (ถ้ามี) ดังรูป

_images/portal_group_list.png

จากรูปด้านบนการสร้าง Group ใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม "Create" มุมบนขวามือ เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลดังรูป

_images/portal_group_create.png

จากรูปด้านบนข้อมูล Group ที่สามารถระบุได้มีดังนี้

Group Name

ชื่อ Group ไม่อนุญาตให้มีช่องว่าง (White Space) อยู่ในชื่อ

Group Description

คำอธิบาย Group

Tag

คำค้น (Key Word) ระบุได่มากกว่า 1 ค่า

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม "SAVE" ก็จะปรากฏรายการ Group ใหม่ที่พึ่งสร้างขึ้นมาเป็นรายการบนสุด ดังรูป

_images/portal_group_new.png

จากรูปด้านบนจะเห็นว่ายังมีข้อมูลบางอย่างของ Group ซ่อนอยู่ (Tag) ให้คลิกที่ปุ่ม ">" หน้า Group แต่ละรายการที่ต้องการดูข้อมูลที่ถูกซ่อนอยู่ ดังรูป

_images/portal_group_tag.png

เมื่อนำ Cursor ไปชี้ที่ Group รายการใดก็ตามจะปรากฏ Icon สำหรับให้คลิกเพื่อแก้ไขข้อมูล Group และสำหรับลบ Group นั้นๆ (Group ที่จะลบได้ต้องไม่มี Device อยู่ภายใต้ Group นั้นแล้ว) ดังรูป

_images/portal_group_edit.png

นอกจากนี้ ยังมีตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล Group กรณีมีรายการ Group จำนวนมาก ได้แก่ ช่องค้นหา โดยใส่คำค้นที่ต้องการลงไปแล้วคลิกที่ Icon แว่นขยายที่ด้านหลังหรือกด "Enter" ที่แป้นพิมพ์ หรือจะคลิกที่หัวคอลัเพื่อเรียงลำดับข้อมูลใน์ตามประเภทได้เช่นกัน ดังรูป

_images/portal_group_search.png

ถ้าคลิกที่แต่ละรายการ Group จะไปยังหน้าจอที่แสดงรายการ Device ที่อยู่ภายใต้ Group นั้นๆ ดังรูป

_images/portal_group_devicelist.png

จากรูปด้านบนมี Device 1 ตัวอยู่ภายใน Group นี้ การแสดงรายละเอียดของ Device จะเหมือนกับที่เมนู "Device" และสามารถจัดการ Device ได้เช่นเดียวกัน สำหรับปุ่ม "Manage Device" ใช้สำหรับจัดการ Device เข้า Group หรือออกจาก Group เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป

_images/portal_group_manage.png

จากรูปด้านบนจะมีรายการ Device ที่แสดงแยกกัน 2 ด้าน โดยที่อยู่ด้านซ้ายมือ คือ รายการ Device ที่ไม่ได้อยู่ภายใน Group ดังกล่าว ถ้าต้องการจะจัด Device เหล่านั้นเข้ามาใน Group ให้คลิกเลือก Checkbox หน้ารายการ Device ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม ">" เพื่อย้ายเข้ามาใน Group ในทางตรงข้าม ด้านขวา คือ รายการ Device ที่อยู่ใน Group ดังกล่าวอยู่แล้ว ถ้าต้องการเอาจาก Group ให้คลิกเลือกที่ Checkbox หน้ารายการ Device ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม "<" เมื่อเลือกย้าย Device เรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม "SAVE" ด้านล่างเพื่อทำการบันทึกข้อมูล


Event Hook

เป็นตัวกลางที่ใช้กำหนดว่าเมื่อเกิด Trigger จะให้ดำเนินการอะไร โดยจะถูกนำไปอ้างอิงใน Trigger ที่เมนู "Device" การจัดการข้อมูล Event Hook ให้คลิกที่เมนู "Event Hook" ในแทบซ้ายมือ ก็จะปรากฏหน้าจอแสดงรายการ Event Hook ทั้งหมดที่เคยสร้างไว้ภายใน Project นั้นๆ (ถ้ามี) ดังรูป

_images/portal_hook_list.png

จากรูปด้านบนการสร้าง Event Hook ใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม "Create" มุมบนขวามือ เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลดังรูป

_images/portal_hook_create.png

จากรูปด้านบนข้อมูล Event Hook ที่สามารถระบุได้มีดังนี้

Hook Name

ชื่อ Event Hook ไม่อนุญาตให้มีช่องว่าง (White Space) อยู่ในชื่อ

Hook Description

คำอธิบาย Event Hook

Type

ประเภท Event Hook (ปัจจุบันมีแค่ประเภทเดียวจึงยังไม่ต้องเลือก)

Active

เปิด/ปิด การใช้งาน Event Hook

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม "SAVE" ก็จะปรากฏรายการ Event Hook ใหม่ที่พึ่งสร้างขึ้นมาเป็นรายการบนสุด ดังรูป

_images/portal_hook_new.png

เมื่อนำ Cursor ไปชี้ที่ Event Hook รายการใดก็ตามจะปรากฏ Icon สำหรับให้คลิกเพื่อแก้ไขข้อมูล Event Hook และสำหรับลบ Event Hook นั้นๆ ดังรูป

_images/portal_hook_edit.png

นอกจากนี้ ยังมีตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล Event Hook กรณีมีรายการ Event Hook จำนวนมาก ได้แก่ ช่องค้นหา โดยใส่คำค้นที่ต้องการลงไปแล้วคลิกที่ Icon แว่นขยายที่ด้านหลังหรือกด "Enter" ที่แป้นพิมพ์ หรือจะคลิกที่หัวคอลัเพื่อเรียงลำดับข้อมูลใน์ตามประเภทได้เช่นกัน ดังรูป

_images/portal_hook_search.png

ถ้าคลิกที่แต่ละรายการ Event Hook จะเป็นการเข้าไปดูรายละเอียดและตั้งค่าข้อมูลต่างๆ ของ Event Hook เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป

_images/portal_hook_config.png

จากรูปด้านบน เมื่อคลิกที่รายการ Event Hook แล้ว ก็จะปรากฏข้อมูลต่างๆ และส่วนสำหรับตั้งค่า Event Hook โดยมุมบนสุดด้านซ้ายมือจะแสดงชื่อ Event Hook และวันที่สร้าง Event Hook ส่วนมุมบนขวามือจะมีปุ่ม "Edit" เมื่อคลิกก็จะปรากฏฟอร์มสำหรับให้แก้ไขข้อมูล Event Hook เหมือนการคลิกที่ Icon หลังรายการ Event Hook ที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ ถัดลงมาในกรอบ Detail ก็จะแสดงข้อมูลคำอธิบายของ Event Hook กรอบถัดมา คือ Configuration จะแสดงประเภทและสถานะการเปิดใช้งาน Event Hook (Disable ปิดการใช้งาน, Enable เปิดการใช้งาน)

สำหรับการใส่ Code การทำงานของ Event Hook จะอยู่ส่วนล่างสุด ดังรูป

_images/portal_hook_code.png

ลักษณะ Code ส่วนนี้จะอยู่ในรูปแบบ JSON เหมือนกับตอนตั้งค่า Device (สำหรับรายละเอียดวิธีการตั้งค่าดูได้จาก Device Configuration) เลือกแสดงผลได้ 2 แบบ คือ Tree (ค่า Default) และ Code กรณีที่ต้องการคัดลอก Code จากวางแนะนำให้เลือกการแสดงผลเป็นแบบ Code ถ้ามีการแก้ไข Configurations ปุ่ม "SAVE" ที่มุมบนขวามือจะ Active ให้สามารถกดบันทึกสิ่งที่แก้ไขไปได้ หรือถ้าต้องการบันทึกสิ่งที่แก้ไขไปก้ให้คลิกปุ่ม "Cancel"


Member

ใช้สำหรับจัดการสิทธิ์ผู้เข้าถึง Project นั้นๆ โดยสามารถเพิ่มผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึง Project ตามบทบาทหน้าที่ (Role) ที่แตกต่างกันได้ แบ่งได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

Permission/Role

Guest

Viewer

Editor

Master

Owner

Read Device Info

X

X

X

X

X

Read Device Status

X

X

X

X

X

Read Shadow

X

X

X

X

Read Schema

X

X

X

Read Trigger

X

X

X

Read Event Hook

X

X

X

Write Device Info

X

X

X

Write Shadow

X

X

X

Write Schema

X

X

X

Write Trigger

X

X

X

Write Event Hook

X

X

X

Create Device

X

X

Create Group

X

X

Delete Device

X

X

Delete Group

X

X

Invite User to Project

X

Remove User from Project

X

Remove Project

X

สำหรับ Owner จะไม่สามารถให้เพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ใช้คนอื่นได้ ผู้ใช้ที่สร้าง Project จะได้รับสิทธิ์นี้เพียงผู้เดียว การเพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ใช้คนอื่นเข้าถึง Project ได้ ผู้ใช้เหล่านั้นต้องมี Account สำหรับใช้งานระบบแล้วเท่านั้น จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Invite มุมบนขวา จะปรากฎหน้าจอดังรูปด้านล่าง

_images/portal_member_add.png

จากรูปด้านบนข้อมูล Invite Member ที่ต้องระบุมีดังนี้

E-Mail

อีเมลหรือ Account ผู้ใช้งานที่ต้องให้สิทธิ์และ่ลงทะเบียนไว้ในระบบแล้ว

Role

บทบาทหน้าที่ที่ต้องการให้สิทธิ์

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม "ADD" ก็จะปรากฏรายการ Member ใหม่ที่พึ่งให้สิทธิ์ไป ดังรูป

_images/portal_member_new.png