Panel

Grafana เป็นโปรแกรม open-source ที่ NEXIIOT ได้ทำการนำมาใช้งานเพื่อเป็น dashboard ให้กับผู้ใช้งานสามารถใช้ในการแสดงค่าข้อมูลของอุปกรณ์ที่ได้รับมาปรับแต่งได้ตามต้องการและตามความเหมาะสมของข้อมูล

การสร้าง Panel

  • เริ่มสร้าง Panelโดยทำการเลือกเมนู Console ทางด้านซ้ายมือแล้วคลิกที่ Panel

  • กดปุ่ม “Enable” เพื่อเปิดการใช้งาน

  • กดปุ่ม “Create” เพื่อสร้าง Dashboard

_images/panel_create.png
  • กดปุ่ม “Create” เพื่อสร้าง Panel

  • สามารถกดปุ่ม “Disable” เพื่อปิดการใช้งาน Panel ได้

_images/panel_create2.png

สามารถกรอกข้อมูลได้ คือ

  • Panel Dashboard Name คือชื่อ Dashboard ไม่สามารถมีช่องว่าง (White Space) อยู่ในชื่อได้

_images/panel_create_dashboard.png

เมื่อทำการกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดปุ่ม "SAVE" ก็จะปรากฏรายการ Panel ใหม่ที่เพิ่งทำการสร้างขึ้นมา

คลิกที่รายการ Example เพื่อเข้าไปยังหน้า Panel

_images/panel_name.png

เมื่อนำเมาส์ไปวางไว้ที่รายการที่ได้ทำการ Create Panel ไว้ จะปรากฏปุ่ม "Edit" และ "Delete" สำหรับทำการแก้ไขข้อมูลทั่วไปและลบ Panel นั้นๆได้ตามลำดับ

การใช้งาน Panel

คลิกที่ปุ่ม “Add panel” ทางมุมบนขวามือ แล้วคลิกที่ปุ่ม “Add Query” โดย Grafana จะทำการสร้างกล่องการแสดงผลพื้นฐาน (Panel) ในลักษณะกราฟขึ้นมา โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเป็นข้อมูลที่ถูกสมมติขึ้นแบบสุ่ม (Random Walk) เมื่อต้องการบันทึกหน้าต่างแสดงผลที่สร้างขึ้นมา ให้คลิกที่ปุ่ม “Save dashboard” ด้านบนของหน้าจอ

_images/panel_addquery.png

Datasource

การต้ังค่าคำสั่งเพื่อเรียกข้อมูลในเมตริกน้ันขึ้นอยู่กับประเภทของฐานข้อมูลที่ผู้ใช้งานเลือกซึ่ง NEXIIOT ได้ทำการติดตั้งฐานข้อมูลไว้ 2 ประเภทได้แก่ Shadow สำหรับการรับผลข้อมูลล่าสุดของอุปกรณ์เพียงค่าเดียวและ Feed สำหรับการแสดงผลย้อนหลังของอุปกรณ์

_images/panel_datasource.png

Shadow

Shadow เปรียบเสมือนฐานข้อมูลขนาดเล็กของอุปกรณ์ที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติและสถานะของอุปกรณ์น้ันเช่น ค่าข้อมูลจากเซนเซอร์ของอุปกรณ์ หรือค่า สถานะการใช้งานปัจจุบันของอุปกรณ์ว่ายังทำงานอยู่หรือไม่เป็นต้นซึ่งค่า Shadow นี้จะแสดงผลเพียงค่าปัจจุบันค่าเดียวโดยไม่มีการเก็บค่าข้อมูลก่อนหน้าที่รับมาจากอุปกรณ์

_images/panel_shadow.png
  • เลือกฐานข้อมูล (Query) ประเภท Shadow จาก drop-down

  • ในแถบ “Device” ให้ทำการคลิกที่drop-down “select metric” เพื่อทำการเปลี่ยนเป็นชื่อของอุปกรณ์ (Client ID) ที่ต้องการนำมาแสดงผล

  • ในแถบ “Attribute” ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม “+” เพื่อทำการเลือกค่าข้อมูลของอุปกรณ์ (Field) ที่ต้องการนำมาแสดงผล

Feed

Feed เปรียบเสมือนฐานข้อมูลที่ใช้ในการเก็บค่าข้อมูลที่รับมาจากอุปกรณ์ในรูปแบบ Shadow เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดูค่าต่างๆเหล่านนั้นย้อนหลังได้โดย Feed จะนำค่าข้อมลู Shadow ที่ได้รับมาจากอุปกรณ์จัดเก็บเข้าสู่ฐานข้อมูลตาม การตั้งค่าโครงสร้างของข้อมูล (Schema) ที่กำหนดเอาไว้ก่อนหน้า

_images/panel_feed.png
  • เลือกฐานข้อมูล (Query) ประเภท Feed จาก drop-down

  • ในแถบ “Metric” ให้ทำการคลิกที่ drop-down “select metric” เพื่อทำการเปลี่ยนเป็นชื่อของอุปกรณ์ (Client ID) ที่ต้องการนำมาแสดงผล

  • ในแถบ “Tags” ที่ปรากฎขึ่้นหลังจากเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการให้แสดงผลข้อมูลจะปรากฎข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนของ tags และค่าข้อมูลของอุปกรณ์ (Combinations)

  • ค่าข้อมูลที่เข้ามาในแต่ละจุดเวลาจะเป็นผลรวมของค่าข้อมูลทุกจุดที่เข้ามาในจุดเวลาเดียวกันหากผู้ใช้งานต้องการแยกแต่ละค่าข้อมูลออกจากกันให้ผู้ใช้งานทำการตั้งค่าในแถบ “Group by” แยกค่าข้อมูลแต่ละประเภทของอุปกรณ์ออกจากกันเป็นแต่ละกราฟ

  • ในแถบ “Aggregators” จะเป็นการจัดกลุ่มของค่าข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาให้กลายค่าเพียงจุดเดียวมีประโยชน์ต่ออุปกรณ์ที่ส่งค่าข้อมูลมหาศาลโดยจะเปลี่ยนค่าข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาต่างๆให้กลายเป็นค่าที่ถูกคำนวณเอาไว้ เช่น avg,last และ max เป็นต้น

การตั้งค่ากล่องการแสดงผลข้อมูล

กล่องการแสดงผลข้อมูล (Panel) แต่ละกล่องสามารถมีการตั้งค่าให้ลักษณะการแสดงผลของแต่ละกล่องนั้นมีความแตกต่างกันได้เพื่อความเป็นระเบียบ เรียบร้อยและเพิ่มความสวยงามให้กับหน้าต่างแสดงผล ทำได้โดยให้ผู้ใช้งานเข้าไปที่เมนูฟันเฟือง ด้านซ้ายมือของหน้าการแก้ไขกล่องการแสดงผลข้อมูล

_images/panel_config.png
  • ชื่อ (Title) ของกล่องการแสดงข้อมูล

  • คำอธิบาย (Description) ของกล่องการแสดงข้อมูล

  • พื่นหลังโปร่งใส (Transparent) หากเปิดการใช้งานจะทำให้พื้นหลังของกล่องการแสดงผลข้อมูลนี้กลายเป็นลักษณะโปร่งใส

  • การเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่่นๆ (Panel links) โดยเมื่อตั้งค่าไว้จะปรากฎเป็นลูกศรที่มุมซ้ายบนของหน้าต่างแสดงผลที่สร้างไว้โดยผู้ใช้งานสามารถกดไปยังชื่อนั้นเพื่อทำการไปยังเว็บไซต์ต่างๆได้

ลักษณะการแสดงผลข้อมูล (Visualization)

ข้อมูลแต่ละประเภทอาจต้องใช้วิธีการแสดงผลทีแตกต่างกันตามความเหมาะสมของข้อมูลน้ัน บางข้อมูลอาจจำเป็นต้องใช้กราฟในการแสดงผลข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูทิศทางและความเป็นไปของข้อมูลในขณะที่บางประเภทต้องการให้แสดง เพียงค่าข้อมูลล่าสุดเพียงค่าเดียวทำได้โดยการคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ “Visualization” ด้านซ้ายมือเพื่อเข้าสู่หน้าแก้ไขลักษณะการแสดงผล

_images/panel_visualization.png

กราฟ (Graph)

จัดเป็นกล่องการแสดงผลพื้นฐานของ Grafana ที่มีเครื่องมือให้สามารถใช้งานได้อย่างมากมาย เหมาะกับการแสดงผลข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในลักษณะ Feed เพราะสามารถแสดงค่าข้อมูลตัวเลขของอุปกรณ์ย้อนหลังได้ แต่ไม่เหมาะกับการแสดงผล Shadow เพราะจะแสดงจุดของข้อมูลที่เข้ามาเพียง ค่าเดียวคือค่าข้อมูลล่าสุดหรือข้อมูลปัจจุบันของอุปกรณ์เท่านั้น

_images/panel_graph.png

ค่าทางสถิติค่าเดียว (Singlestat)

คือการย่อส่วนการแสดงผลข้อมูลของอุปกรณ์โดยใช้วิธีการทางสถิติเช่นค่าสูงสุดค่าต่ำสุดหรือผลรวมของค่าข้อมูลนั้นๆในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อทำให้เหลือค่าเพียงค่าเดียวเท่านั้นอีกทั้งยังสามารถแปลงค่าข้อมูลทางสถิติที่ได้มานั้นให้กลายเป็นข้อความที่ บ่งบอกถึงลักษณะของผลข้อมูลที่ได้และสามารถแสดงกราฟหรือภาพที่ทำให้เข้าใจถึงลักษณะของข้อมูลน้ันได้เร็วขึ้นอีกด้วยการแสดงผลข้อมูลประเภทน้ีสามารถใช้ได้กับทั้ง Feed เพื่อแสดงค่าทางสถิติที่ถูกคำนวณจากค่าข้อมูลของอุปกรณ์และ Shadow เพื่อแสดงผลค่าข้อมูลล่าสุดของอุปกรณ์

_images/panel_singlestat.png

มาตรวัดและมาตรวัดแบบแท่ง (Gauge & Bar Gauge)

คือการแสดงผลค่าข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับการแสดงผลค่าข้อมูลแบบค่าทางสถิติค่าเดียว (Singlestat) คือการนำค่าข้อมูลมาประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาแสดงผลเพียงหนึ่งค่าโดยการแสดงผลแบบมาตรวัดธรรมดานั้น จะปรากฏขึ้นมาในลักษณะหน้าปัดในขณะที่การแสดงผลในลักษณะมาตรวัดแบบแท่งจะปรากฏขึ้นมาในลักษณะขีดแท่งของข้อมูล

_images/panel_gaugebar.png

ช่วงเวลา (Time Range)

ผู้ใช้งานสามารถจัดการและตั้งค่าเกี่ยวกับช่วงเวลาต่างๆที่ต้องการใช้ในการแสดงผลข้อมูลซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่งด้านขวาบนของโปรแกรมได้ ประกอบไปด้วยช่วงเวลาที่ต้องการให้ข้อมูลนำมาแสดง (Time Range) และช่วงเวลาที่ต้องการให้เรียกค่าข้อมูลใหม่อีกคร้ัง (Refresh Interval)

_images/panel_timerange.png